
ตอนนี้ก็ได้ก้าวเข้ามาสู่ปี 2559 แล้วเรามาดูแนวโน้มของตลาดการส่งออกของประเทศไทยกันดูบ้างเมื่อเทียบกับของปีที่ผ่าน คงจะเห็นได้ว่าตลาดการส่งออกสินค้าของเรานั้น มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึง ร้อยละ 5.8 สืบเนื่องมาจากการให้การสนับสนุนจากโครงกาพัฒนาเศรษฐกิจจากภาครัฐ มองไปในส่วนของค่าเงินบาทมีการอ่อนตัวลงหากเทียบกับเงินสกุลหลัก ด้านต้นทุนของการผลิตสินค้า และการขนส่งลดลงสืบเนื่องมาจากราคาน้ำมัน นับว่าเศรษฐกิจของเราได้รับการขยายตัวเพิ่มขึ้นปีกเพราะว่ามีการขยายการลงทุนไปในกลุ่มประเทศ CLMV ส่งผลให้มีความต้องการสินค้าอุปโภคและบริโภคเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่หากจะมองไปยังเศรษฐกิจโลกแล้วนั้นยังมีการชะลอตัวอยู่ โดยเฉพาะประเทศที่มีการส่งออกสอนค้าประเภทน้ำมันและการเกษตร เนื่องจากการปัญหาภัยแล้งทำให้สินค้าในกลุ่มนี้ได้รับผลกระทบไปด้วย
กลุ่มสินค้าที่มีแนวโน้มว่าจะมีการส่งออกมากขึ้น
-ไก่ ได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบที่มีการอ่อนตัวลง จึงสามารถทำให้ผลิตได้เยอะขึ้นจึงเป็นผลดีต่อการส่งออก ซึ่งประเทศญี่ปุ่นนับว่าเป็นตลาดหลักของเรา
-อาหารกระป๋อง คาดการว่าจะมีการส่งออกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากทางฝั่งของประเทศแอฟริกาเหนือยังมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในตลาดหลักของเราอย่างในโซนยุโรปนั้นยังมีการชะลอตัวอยู่เนื่องจากปัญหาด้านการประมง
-กุ้ง นับเป็นสินค้าส่งออกที่สามารถทำการตลาดด้านการส่งออกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี แต่เราก็ต้องคำนึงว่าเรายังมี คู่แข่งหลายประเทศ เช่น เวียดนาม , อินเดีย ที่มีการส่งออกเหมือนกัน แต่ตอนนี้กำลังประสบปัญหาโรคระบาด จึงเป็นโอกาสให้เราดึงส่วนแบ่งของการตลาดคืนมา
-เครื่องปรุง เป็นสินค้าในกลุ่มที่มีการส่งออกอย่าหงต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นสินค้าที่เสียยาก จึงสามารถส่งออกได้ทั่วโลก แต่ก็มีการส่งออกมาของหลายประเทศเช่นกัน
-ผลไม้กระป๋อง นับจากปี 2558 ที่ราคาของผลไม้นั้นมีการปรับตัวลดลงนั่นเองจึงส่งผลให้มีอัตราของการผลิตที่มากขึ้น จึงสามารถทำการส่งออกได้เป็นจำนวนมาก และมีหลายประเทศที่มีการรับสินค้าในกลุ่มนี้