
ถึงเวลาที่ทุกๆ คนต้องยอมรับเสียที ว่าถ้าหากเศรษฐกิจไทยยังไม่ถูกปรับโครงสร้างอย่างจริงจัง ไม่มีทางกลับขึ้นมาอยู่ในอันดับต้นๆ ของเอเชียเหมือนสมัยก่อนที่ประเทศไทยของเรานั้นไม่น้อยหน้าใครในด้านผลผลิต เรามารับรู้ถึงสาเหตุกันดีกว่า
- ยังยึดติดกับอุตสาหกรรมเก่าและไม่ไฮเทค จุดอ่อนแรกคือ เศรษฐกิจไทยที่ยังยึดติดกับอุตสาหกรรมเก่าๆ ที่กำลังค่อยๆ หมดความสำคัญลงไป ในขณะที่สินค้าและบริการทางเทคโนโลยีที่กำลังเป็นที่ต้องการของระดับโลก แต่ไทยเราไม่ค่อยมีความสามารถที่จะผลิตได้ การที่ประเทศไทยยังติดกับอุตสาหกรรมเก่าๆ ทำให้ความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกลดลงด้วย จากสัดส่วนส่งออกสินค้าและเทคโนโลยีของไทยอยู่ในระดับ 20- 30 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
- โรคระบาด (Covid-19) สถานการณ์ระบาดของไวรัส โคโรนา หรือ (COVID-19) ส่งผลให้รัฐบาลต้องใช้มาตรการที่เข้มงวดเพื่อที่จะควบคุมการระบาด โดยเริ่มใช้มาตรการล็อกดาวท์ ในวันที่ 26 มีนาคม 2563 ไปจนถึงสิ้นเดือน เมษายน 2563 ซึ่งมาตรการต่างๆ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของเราแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยอีกด้วย
– ผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19 และรัฐบาลมีนโยบาย Socail Distancing ในช่วงที่ให้มีการปิดกิจการ และลดการเดินทาง อยู่บ้าน ที่เห็นชัดเจนคือ
- ประชาชนไม่สามารถไม่สามารถเดินทางมาซื้ออาหาร หรือสินค้าที่จำเป็นได้
- สินค้าขาดแคลนและหายไปจากตลาด
- ประชาชนส่วนมากต้องหยุดงาน บางกิจการต้องปิดตัวลงชั่วคราว ทำให้ผู้ประกอบกิจการว่างงาน ขาดรายได้
– ผลกระทบจากโรคระบาดโควิด19 ที่มีผลกระทบต่อประเทศ-การส่งออกที่เห็นชัดเจนคือ
1.ประเทศไทยต้องพึ่งพารายได้ที่มาจาก การบริการนักท่องเที่ยวที่มาจากทั่วโลก ทำให้รายได้ ในส่วนนักท่องเที่ยวและส่วนที่ ส่งออก หายไปด้วย
- ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมการระบาดโรค โควิด 19 ทำให้ผลการผลิตทางเกษตร ของประเทศไทยลดลง
- การระบาดของโรค โควิด19 ทำให้คนไทยต้องเก็บเงินไว้ซื้อของกินของใช้ที่จำเป็นการทำให้มีแต่ รายจ่าย
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรง ไม่ได้เกิดเฉพาะประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและกระทบไปทั่วโลก ผ่านการลดลงของการค้าระหว่างประเทศ และการดึงกลับของเงินลงทุนต่างประเทศ ทำให้หลายประเทศถูกกระทบในลักษณะเดียวกัน ช่วงปี 1930s ที่เกิดปัญหาขึ้น เศรษฐกิจไทยช่วงนั้นถูกกระทบภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกลดลงกระทบไปถึงการส่งออกและรายได้ของรัฐบาล ทำให้รัฐบาลต้องแก้ปัญหาโดยการลดเงินเดือนข้าราชการและเพิ่มภาษี เพื่อทำให้มีรายได้ใช้จ่าย แต่ก็ไปมีผลต่อเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจัยที่เข้ามากระทบที่สำคัญในช่วงนั้น ที่นักเศรษฐศาสตร์พูดกันมากคือ การดำเนินนโยบายของรัฐ แทนที่จะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัว กลับทำให้มันแย่ลงกลายเป็นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรง เช่นการตั้งกำแพงภาษี เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ ที่กระทบการส่งออก การประหยัด ลดการใช้จ่าย และขึ้นภาษีของภาครัฐ เพื่อดูแลฐานะการคลังของประเทศ ที่ทำให้การใช้จ่ายในประเทศยิ่งชะลอ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อพยุงค่าเงินดอลลาร์ ซึ่งมีผลต่อความต้องการใช้จ่ายในประเทศ เหล่านี้คือตัวอย่างของนโยบายที่ทางรัฐบาลแก้ไขมาผิดพลาดในช่วงนั้น
เรากลับมาดูเหตุการณ์ในปัจจุบัน การปรับลดของตลาดหุ้นที่เกิดขึ้นหลังการระบาดของไข้หวัดโควิดยังไม่ลึกมาก และหลังจากนั้นนโยบายของภาคทางการก็เข้าไปช่วยเหลือเพื่อฟื้นเศรษฐกิจเต็มที่ ตรงข้ามกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปี 1929 คือมีการลดอัตตราดอกเบี้ยและอัดฉีดเงินเข้าระบบเพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาด ทำให้หุ้นที่ปรับลดลงสามารถประคองตัวได้ไม่ปรับลดต่อเนื่อง