ประวัติของผลิตภัณฑ์ดอยคำและมีจุดประสงค์อะไรในการจัดสร้าง

doycom-01

หนึ่งในโครงการของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่คนไทยใกล้ชิดมากที่สุด ก็คงหนีไม่พ้น ดอยคำ แบรนด์สินค้าอันทำให้นึกถึงความเขียวขจีของธรรมชาติ , ผักสด , ผลไม้เมืองหนาว รวมทั้งอาหารแปรรูปนานาชนิด

จุดเริ่มต้นของ ‘ดอยคำ’ ถือกำเนิดขึ้นมาจากพระราชวิสัยทัศน์ อันเต็มไปด้วยความเป็นห่วงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านพบว่าปัญหาหลักของวิถีชีวิตชาวเขาเกิดจากการปลูกฝิ่นยาเสพติดรุนแรง เพราะชาวเขาไม่มีอาชีพหาเลี้ยงตัวได้ พวกเขาจึงต้องปลูกฝิ่นขายและทำไร่เลื่อนลอย ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงพระราชทาน โครงการพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขาเพื่อสร้างอาชีพให้แก่ชาวเขา ซึ่งมีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นการเกษตรอย่างยั่งยืนเท่านั้น

หลักการผลิตที่ชาวเขาต้องยึดถือ

·         ต้นน้ำ คือ การผลิตพืชผลออกมามีคุณภาพตามมาตรฐาน และต้องมีขั้นตอนในการผลิตดีด้วยเช่นกัน

·         กลางน้ำ คือ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า

·         ปลายน้ำ คือ การส่งของถึงมือลูกค้าโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง เนื่องจากพ่อค้าคนกลาง คือ คนที่กำกำไรเอาไว้มากสุด แต่ในยุคปัจจุบันอินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทุกคน เพราะฉะนั้นการส่งของถึงมือผู้บริโภคจึงเป็นเรื่องง่ายขึ้น และการจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าได้นั้น ชาวเขาจึงจำเป็นต้องมีโครงการที่สามารถให้การช่วยเหลือ ทางด้านการรับซื้อผลิตผลในราคายุติธรรม แล้วจึงค่อยนำไปแปรรูปต่อได้

โดย ณ ปัจจุบัน ประเทศไทยมีโรงงานหลวงซึ่งคอยแปรรูปอาหารในจังหวัดอื่นๆ ทั้งหมด 4 แห่ง ได้แก่

·         โรงงานที่ 1 .ฝาง จ.เชียงใหม่

·         โรงงานที่ 2 อ.แม่จัน จ.เชียงราย

·         โรงงานที่ 3 .เต่างอย จ.สกลนคร

·         โรงงานที่ 4 .ละหานทราย จ.บุรีรัมย์

โดยผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ล้วนได้รับการดูแลอย่างถูกต้องตามหลักเชิงพาณิชย์ ภายใต้นิติบุคคลนาม บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ด้วยการดำเนินงานธุรกิจเพื่อสังคม ผ่านตรา ดอยคำและด้วยแผนงานอันวางไว้อย่างเป็นระบบนี้เอง จึงทำให้ผู้คนมากมายจดจำได้อย่างขึ้นใจ ต่างพากันเรียกกันติดปากว่า โครงการหลวงดอยคำนั่นเอง

ณ ปัจจุบันสินค้าแบรนด์ ดอยคำจึงได้มีการแตกประเภทผลิตภัณฑ์ สายการผลิตออกไปอย่างหลากหลายมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้บริโภค จากเดิมคือเครื่องดื่ม เช่น น้ำผัก , น้ำผลไม้ ที่มีชื่อเสียง แต่ในปัจจุบันดอยคำมีสินค้าเพื่อสุขภาพหลายประเภท เช่น สินค้าเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งสินค้าแปรรูปต่างๆ เช่น ผลไม้อบแห้ง , น้ำผึ้ง , นมถั่วเหลือง , สมุนไพรแห้ง , ไอศกรีม , ผลิตภัณฑ์ทาขนมปัง , น้ำผลไม้เข้มข้น , ข้าวกล้อง , นมวัวพาสเจอร์ไรส์ รวมทั้งผลไม้ในน้ำเชื่อม เพื่อตอบโจทย์ความต้องการอันหลากหลายมากขึ้น